บทความ

หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย

รูปภาพ
หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติ           หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย เป็นโอรสกรมหมื่นเทวานุรักษ์ (หม่อมเจ้าชะอุ่ม) ซึ่งเป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะยังทรงผนวช และได้เรียนภาษาอังกฤษจนสามารถพูด และเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี จนได้ดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษเป็นครั้งแรก ผลงานสำคัญ             หม่อมราโชทัย หรือหม่อมราชวงศ์กระต่าย อิสรางกรู เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับกิจการด้านต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยดำรงตำแหน่งล่ามหลวงประจำคณะทูตไทยที่ไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก และดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรกอีกด้วย

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

  ประวัติ        สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เกิดในสกุลบุนนาค เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นบุตรของพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และท่านผู้หญิงจันทร์ ได้รับราชการแผ่นดิน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา จนถึงรัชกาลที่ ๕ และมีความก้าวหน้าในรัชกาลเรื่อยมาจนสุดท้ายได้รับเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผลงานสำคัญ        สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้รับราชการแผ่นดินสนองพระมหากรุณาธิคุณพระมหา-กษัตริย์ ตั้งแต่สมัยราชกาลที่ ๒ จนถึงสมัยรัชกาลที่  ๕  และได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับชาติไทยนานัปการ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การต่างประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแต่มีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

หมอบรัดเลย์ (ดร.แดน บีช แบรดลีย์ )

รูปภาพ
                ประวัติ           หมอบรัดเลย์  หรือ  แดน บีช แบรดลีย์  (Dan Beach Bradley, M.D.) หรือบางคนเขียนเป็น  หมอบรัดเล หมอปลัดเล   หมอปรัดเล  หรือ  หมอปรัดเลย์  เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์            คนไทยกับคนอเมริกันได้พบเห็นหน้าอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ในครั้งนั้น ประธานาธิบดีแย็กสัน  (Andrew Jackson) ได้แต่งตั้งให้เอมินราบัดหรือ  เอดมันด์ รอเบิต  (Edmond Roberts) เป็นทูตขี่เรือกำปั่นเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ (ภายหลังประเทศอังกฤษ) และต่อจากนั้น ๓ ปี หมอบรัดเลย์ก็นั่งเรือใบเข้ามา              ผลงานสำคัญ ในด้

ออกญาโกษาธิบดี (ปาน)

รูปภาพ
ขุนนางและชาวต่างชาติที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์ชาติไทย สมัยอยุธยา ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) (มีอายุระหว่าง พ.ศ. ไม่ปรากฏ-2253) ประวัติ       ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เดิมชื่อ "ปาน" เป็นน้องชายของเจ้าพระยาคลัง หรือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ในสมัยสมเด็จพรนารายณ์มหาราช เมื่ออายุ 20 ปี ได้เข้ารับราชการกับพี่ชาย หลังจากนั้นอีก 15 ปีต่อมา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) และได้เป็นหัวหน้าคณะฑูตเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2229 ผลงานสำคัญ       ด้านการต่างประเทศ  ออกญาโกษาธบดี (ปาน) เป็นขุนนางที่สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้กับชาติบ้านเมืองในสมัยอยุธยา ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสให้มีความใกล้ชิดและมีความเข้าใจต่อกันมากยิ่งขึ้น ทำให้อยุธยาสามารถดึงฝรั่งเศสมาถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาได้ตามวิเทโศบายที่ทางอยุธยาวางเอาไว้

พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)

รูปภาพ
พ ระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) ประวัติ       พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) (อังกฤษ: Francis Bowes Sayre; 30 เมษายน พ.ศ. 2428 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2515) เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นบุตรเขยของวูดโรว์ วิลสัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผลงาน       ผลงานของพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระองค์ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ในประเทศตามแบบของประเทศศิวิไลซ์ที่ใช้กัน ซึ่งพระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ก็มีส่วนช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย โดยรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรี ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis Bowes Sayre) ร่างนั้นมีเพียง ๑๒ มาตรา เรียกว่าเป็น “Outline of Preliminary Draft” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗7.

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

รูปภาพ
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี   ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (15 กันยายน พ.ศ. 2435 — 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี ( Corrado Feroci) ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะและมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่ ห่วงใยและปรารถนาดีต่อลูกศิษย์อยู่ตลอดจนเป็นที่รักและนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ด้วยกัน           ศาสตราจารย์ศิลป์ยังเป็นผู้วางรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่วงการศิลปะไทยสมัยใหม่จากการที่ได้พร่ำสอนและผลักดันลูกศิษย์ให้ได้มีความรู้ความสามารถในวิชาศิลปะทั้งงานจิตรกรรมและงานช่าง มีจุดประสงค์ให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้ด้วยความสามารถของบุคลากรของตนเอง การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปาก

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์

รูปภาพ
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติ             พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่  24 ตุลาคม   พ.ศ. 2348  ที่ เมืองโกต-ดอร์  ประเทศฝรั่งเศส  เมื่อท่านอายุได้  23  ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็น บาทหลวง  เมื่อวันที่  31 พฤษภาคม   พ.ศ. 2371  ที่ เซมินารี ของ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส  จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่  31 สิงหาคม  พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทย เมื่อวันที่  27 กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2372  ในปี  พ.ศ. 2381  ท่านได้รับตำแหน่งอธิการ โบสถ์คอนเซ็ปชัญ  ท่านได้ปรับปรุง โบสถ์ แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  แล้วจากถูกทิ้งร้างมานานแล้วย้ายไปอยู่ที่ โบสถ์อัสสัมชัญ ในปี พ.ศ. 2381 จนปี พ.ศ. 2378  มุขนายก   ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี  ( Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy)  ประมุข มิสซังสยาม ในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็น อุปมุขนายก  ( vicar general)  แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่ สิงคโปร์  เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจาก สันตะสำนัก ให้อภิเษกท่านปาเล